One-Stop Destination for Music Lovers Lifestyle ราคา ค่าเช่าโกดัง กับภาษีที่เกี่ยวข้อง

ราคา ค่าเช่าโกดัง กับภาษีที่เกี่ยวข้อง

0 Comments

ราคา ค่าเช่าโกดัง

โกดังและคลังสินค้าเป็นสถานที่สำหรับการสต็อกสินค้าหรือการผลิตและจำหน่าย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการทำกิจการต่าง ๆ หรือธุรกิจในแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่าการจะเช่าได้ก็เมื่อผู้เช่ามีเงินพอให้จ่ายในส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก ราคา ค่าเช่าโกดัง ซึ่งค่าภาษีก็เป็นค่าใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยจะมาพูดถึงในบทความนี้ว่ามีภาษีอะไรบ้างที่ผู้เช่าโกดังต้องจ่าย 

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโกดัง 

ในส่วนของภาษีที่ผู้เช่าจำเป็นต้องจ่ายนอกจาก ราคา ค่าเช่าโกดัง นั้นจะแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งสามารถกล่าวได้ดังนี้ 

  • ภาษีเงินได้ที่หัก ณ ที่จ่าย โดยภาษีประเภทนี้ ผู้เป็นเจ้าของกิจการและผู้ประกอบการทุกคนจำเป็นต้องจ่าย ต้องทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแก่ผู้ให้เช่าและดำเนินการ หัก ณ ที่จ่าย มีอัตราจ่ายร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับค่าเช่า ต้องส่งภาษีและจ่ายเงินเดือนถัดไปใน 7 วัน ถ้าเป็นบริการอื่นจะถูกหักเป็นร้อยละ 3 ซึ่งคิดแยกกับค่าเช่าตัวอย่าง คือ บริษัทแห่งหนึ่งมี ราคา ค่าเช่าโกดัง อยู่ที่ 100,000 บาทต่อเดือน หักภาษี ณ ที่จ่ายคำนวณได้เป็น 100,000 x 5% = 5,000 ฉะนั้นค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าคิด สุทธิ 100,000 – 5,000 ได้เป็น 95,000 บาท 
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเช่าอาคาร ค่าเช่าดกดัง ซึ่งจะถูกยกเว้นไม่ให้นำมาคิดเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากมีค่าบริการอื่น เช่น ค่าบริการเพื่อบำรุงทรัพย์ ค่าส่วนกลาง ก็ต้องจ่ายซึ่งผู้ที่จ่ายจะมีรายได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท และจะนำค่าบริการมาคิดเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนดโดยกฎหมาย ทุกวันนี้คิดเป็นร้อยละ 7 ซึ่งการคิดภาษีประเภทนี้จะคิดเหมือนกับภาษีประเภทแรก 
  • อากรแสตมป์ เป็นการติดแสตมป์บนสัญญาเช่าที่จะทำให้มีความสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย คิดอัตราการจ่ายตลอดสัญญาเช่าเป็นร้อยละ 0.1 ซึ่งฝ่ายไหนจะเป็นผู้รับผิดชอบก็ให้พูดคุยตกลงกันของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตัวอย่าง คือ บริษัทแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาการเช่าโกดัง 100,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 ปี ยอดรวมของ ราคา ค่าเช่าโกดัง จะเป็น 100,000 บาท x 12 เดือน x 3 ปี เงินค่าเช่าทั้งหมดคิดได้ 3,600,000 บาท ซึ่งอากรแสตมป์คือร้อยละ 0.1 ของค่าเช่า จึงคิดได้เป็น 3,600,000 บาท x ร้อยละ 0.1 แสดงว่า อากรแสตมป์มีราคา 3,600 บาท 
  • ภาษีสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ภาษีนี้เริ่มใช้ปี 2563 ในสองปีแรกจะเก็บจากสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน การคิดภาษีนั้น มีดังนี้ 
  • มูลค่าไม่มากกว่า 50 ล้านบาท อัตราภาษีคือ 0.3 % 
  • มูลค่าอยู่ที่ 50-200 ล้านบาท อัตราภาษีคือ 0.4 % 
  • มูลค่าอยู่ที่ 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษีคือ 0.6 % 
  • มูลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท อัตราภาษีคือ 0.7 % 

จากบทความทำให้ได้รู้ถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าเช่าโกดังว่ามีภาษีที่ต้องจ่ายนอกจาก ราคา ค่าเช่าโกดัง โดยจะมีวิธีการคิดที่ไม่ซับซ้อนมาก การจ่ายภาษีจะอยู่ที่รายได้ของผู้ประกอบการแต่ละคนด้วย ภาษีแต่ละแบบก็จะมีเงื่อนไขของการจ่ายที่ไม่เหมือนกัน